6.3 กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ ของศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไท

ศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไทได้กำหนดกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้ คือ

กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ ของศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไท

1. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ภายใน/จิตวิญญาณ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

การเรียนรู้ให้เข้าถึงการตระหนักรู้ การตื่นรู้ ให้เท่าทันภาวะอารมณ์ของตัวเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไปสู่ผู้ที่ปราศจากทัศนคติด้านลบ การกล่าวหา การมีจิตใจที่เมตตา มีศีลธรรมคุณธรรม มีจิตใจ บริสุทธิ์ปราศจากความรุนแรง ความเกลียดชัง อคติ ความโกรธแค้น เหยียดหยามและปราศจากการแบ่งแยก เป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น สร้างความตั้งใจเพื่อพัฒนาจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป สู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในประเด็นปัญหา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ และจิตวิญญาณ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม การหลอมรวม และความเป็นเอกภาพ

เนื้อหาการเรียนรู้

  • สิ่งที่เกินความจำเป็น
  • การยอมรับผู้อื่น
  • เท่าทันอารมณ์ ความโกรธ ความอยาก ความเกลียดชัง
  • เชื่อมโยงกับสรรพสิ่ง และคุณค่าให้สิ่งต่างๆ

กระบวนการเรียนรู้

  1. เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มสาระประสบการณ์การเรียนรู้อื่นๆ
  2. สภาชุมชนวิถีไทที่มีในวันที่ 10 ของทุกเดือน
  3. จัดกิจกรรมเฉพาะ เช่น การเดินธรรมยาตรา
  4. วงถอดสรุปบทเรียน

การประเมิน

  1.  ประเมินตัวเอง
  2. ค่ายถอดสถาวะภายใจ/กระบวนกร/แผนที่ชีวิต/ไทม์ไลน์

 2. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สุขภาพ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

สร้างการเรียนรู้เพื่อที่สามารถดูแลจัดการและแก้ปัญหาสุขภาพให้กับตัวเองได้ เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัย และมีสุขภาพทางใจที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งตัวเองได้จนเป็นที่พึ่งของผู้อื่น

เนื้อหาการเรียนรู้

  • สมดุลร้อนเย็น
  • ธรรมชาติบำบัด
  • โยคะกดจุด
  • บันไดสุขภาพ
  • สมุนไพร
  • ออกกำลังกายออกกำลังใจ/การเดิน
  • การแพทย์องค์รวม

กระบวนการเรียนรู้

  • ค่ายสุขภาพพึ่งตน, ค่ายสุขภาพธรรมชาติบำบัด
  • การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน(การปฏิบัติจริง)
  • การเยียวยาผู้อื่น
  • วงแลกเปลี่ยน แบ่งปัน

การประเมิน

  1. มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
  2. การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  3. ปฏิทินสุขภาพ
  4. งานเขียน
  5. สุขภาพในชีวิตประจำวัน

3. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สัมพันธภาพทางสังคม

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมโลกใหม่ โลกที่ปราศจากความเกลียดชัง แตกแยก ขัดแย้ง เหลื่อมล้ำครอบงำ ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวเท่าเทียม บริสุทธิ์

เนื้อหาในการเรียนรู้

นิเวศเศรษฐศาสตร์, ธรรมนูญลุ่มน้ำการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศทะเลสาบสงขลาอย่างยืน, ฟื้นฟู ภูมินิเวศ, วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย, ความแตกต่างของประชาคมอาเซี่ยน, ลัทธิมนุษยชน วัฒนธรรมแห่งการใช้ รูปแบบการศึกษที่หลากหลาย, การเกื้อหนุนกันและกัน วัฒนธรรมต่างๆ ในสังคมโลก ศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ เรียนรู้และสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงท่ามกลางความเป็นพหุวัฒนธรรม

กระบวนการจัดการเรียนรู้

  1. เข้าร่วมเวทีต่างๆ สมัชชาลุ่มน้ำ สมัชชาอาเชียน งานวันวิชาการ/วันเด็ก/วันพ่อ/วันแม่ สมัชชาการศึกษา เวทีประจำปีดาหลา สมัชชานานาศาสนา
  2. เข้าไปมีส่วนร่วมในการการประชุม จัดสัมมนา จัดงานสมัชชาต่างๆ
  3. การถอดสรุปบทเรียน
  4. งานเขียน

การประเมิน

  1. การถอดสรุปบทเรียน
  2. งานเขียน

4. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ภาษาไม่ได้เกิดขึ้นมาโดดๆ แต่เกิดขึ้นมาจากวัฒนธรรม ที่มีมาก่อน ฉะนั้น การเรียนรู้เพื่อจะให้เข้าใจภาษา จึงต้องเข้าใจวัฒนธรรมแห่งภาษา พร้อมทั้งการรู้จักวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลายสามารถที่จะสื่อสารกับพี่น้องชาติพันธ์อื่นๆ ได้และเคารพในวัฒนธรรมที่หลากหลายของพี่น้องร่วมโลก

เนื้อหา

:ประเพณีท้องถิ่นและของชาติ

  • สงกรานต์
  • สารทเดือนสิบ
  • งานชักพระ

:ศิลปะพื้นบ้าน

  • หนังตะลุง
  • มโนห์รา
  • เพลงบอก
  • บทเพลง

:วัฒนธรรมจากอาสาสมัครต่างชาติ

  • วัฒนธรรมจากชาติต่างๆ

:เรียนรู้ภาษา

  • ภาษาไทย
  • ภาษาพื้นถิ่น
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาอื่นๆ ตามแต่สนใจ
  • การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน

กระบวนการเรียนรู้

  1. ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณี
  2. เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่สนใจ
  3. ค่ายอาสาสมัครต่างชาติ
  4. ใช้ชีวิตร่วมกับอาสาสมัครต่างชาติ
  5. การเขียนบันทึก
  6. วงสนทนา

การประเมิน

  1. ผลงานในการร่วมแต่ละประเพณี
  2. ผลงานเขียน
  3. การถอดสรุปบทเรียน
  4. ความสามารถในการสื่อสารด้าน ภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

5. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

การรู้จักตัวเองการเข้าใจประวัติศาสตร์ของตัวเองเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์และการรู้จักโลกเรียนรู้โลก เข้าใจโลก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน

เนื้อหา

  • ประวัติศาสตร์ครอบครัว
  • ประวัติศาสตร์ชุมชน
  • ประวัติศาสตร์เมือง
  • ประวัติศาสตร์ชาติ
  • ประวัติศาสตร์โลก

กระบวนการเรียนรู้

  1. เรียนรู้จากวิถีการปฏิบัติ
  2. เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ
  3. งานเขียน การเขียนบันทึก เขียนบทความ เขียนสรุป เขียนเรื่องราว
  4. การเรียนรู้ผ่านวงจรสนทนา
  5. เรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้
  6. เรียนรู้จากเอกสาร อินเตอร์เน็ต

การประเมิน

  1. การรู้จักตัวเอง
  2. การเข้าใจชุมชนเข้าใจโลก
  3. งานเขียน
  4. เวทีถอดบทเรียน

6. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สัมมาชีพและเศรษฐกิจชุมชน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่เสมอภาคบนพื้นฐานของการทำงานที่รักและมีความสุข เข้าถึงอย่างเท่าเทียม ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ และธรรมชาติ ดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานและการปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสของเงินตรา

เนื้อหาการเรียนรู้

1.วิสาหกิจชุมชน

  • ตลาดนัดสุขภาพวิถีไท
  • ตลาดวิถีไท

2.การทำนาไร้สารพิษ

การปลูก

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์, การทำพิธีแรกนาขวัญ, การทำพิธีขอ/ฝากเจ้าที่, การหว่าน, การไถ, การดูแลวัชพืช, การดูแลจากสัตว์, พิธีรับท้องข้าว

การเก็บเกี่ยว

การทิ่มข้าวเหม้า, การรวบขวัญข้าว, การเก็บ, การมัดเรียง, การดับลอม, การทำพิธีขวัญข้าวบนลอม
การทำขวัญ
การนวดข้าว, การเตรียมข้าวไว้สี, การสีข้าว,

3. การทำไร่ไร้สารพิษ

  • การปลูกพริก
  • การปลูกแตงโม
  • การปลูกถั่ว
  • การปลูกผัก
  • การปลูกมะเขือ

4. การทำสวนไร้สารพิษ

  • สวนยาง
  • สวนปาล์ม
  • สวนผลไม้
  • สวนผลไม้
  • สวนป่า

กระบวนการเรียนรู้

  1. เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง
  2. เรียนรู้จากผู้รู้
  3. การตั้งวงสนทา
  4. เวทีเสวนาต่างๆ

การประเมิน

  1. งานเขียน
  2. ผลผลิต
  3. รายได้
  4. การถอดสรุปบทเรียนผ่านประสบการณ์

 7. กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้นิเวศวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เพื่อสร้างชุมชนที่สอดรับกันระบบนิเวศวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ แต่ละท้องที่ เป็นหนึ่งเดียวกันระบบภูมิปัญญาในแต่ภูมิประเทศ มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาการเรียนรู้

  • ระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตในระบบนิเวศเขา ระบบนิเวศป่า, ป่าพรุ ระบบนิเวศในท้องนา ระบบนิเวศทะเล
  • การฟื้นฟูวิถีน้ำ, ฝายมีชีวิต
  • การเก็บเมล็ดพันธุ์พืช, การขยายพันธุ์พืช และการพื้นฟูเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม

กระบวนการจัดการเรียนรู้

  1. การทำฝายมีชีวิต
  2. เวทีเสวนาต่างๆ
  3. การทำนา
  4. การร่วมและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
  5. เครือข่าย/ชาวนา/ประมง/
  6. ถอดสรุปบทความ
  7. การแบ่งปันร่วมกันสมัชชาลุ่มน้ำทะเลสงขลา

การประเมิน

  1. ถอดสรุปบทเรียนผ่านประสบการณ์
  2. ชิ้นงาน
  3. การเติบโตภายสำนักรักป่า/น้ำ/ผืนดิน/ทะเล
  4. การเติบโตของเครือข่าย
  5. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน น้ำป่า อย่างรู้คุณค่า

ที่มา: คู่มือแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยองค์กรชุมชนในศูนย์การเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีไท
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3

 

 

Leave a Reply