ศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไทใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น หลากหลาย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านการปฏิบัติจริง อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และ ทุกสถานที่ สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้ ศิลปะ ดนตรี งานช่าง หัตกรรมพื้นบ้าน
1. เรียนรู้จากวิถีการปฏิบัติ
กระบวนการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับการลงมือทำ อาทิ เช่น การเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ด้านใน ใช้การกระบวนการดึงสติผู้เรียนให้มาอยู่กับตัวเอง และเชื่อมโยงกับสิ่งที่จะเรียนรู้ในการนำเข้าสู่บทความเรียนในกลุ่มสาระต่างๆ และขั้นตอนสรุปในการเรียนรู้กลุ่มสาระประสบการณ์การเรียนรู้อื่นๆ หรือ ใช้การเดินธรรมยาตราฝึกความอดทน การดึงสติให้อยู่กับปัจจุปัน และเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบตัว
การเข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นผู้จัดงานในการจัดการประชุม จัดสัมมนา จัดงานสมัชชาต่างๆ ใช้ในการเรียนรู้กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สัมพันธภาพทางสังคม
การเข้าร่วมในการทำฝายมีชีวิตการร่วมและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระประสบการณ์การเรียนรู้นิเวศวัฒนธรรม
การลงมือทำสวน การทำไร่ทำนา การทำงานช่าง การทำวิสาหกิจชุมชน เป็นการเรียนรู้เพื่อค้นหาศักยภาพตัวเองในกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สัมมาชีพ
การนำความรู้เรื่องสุขภาพไปใช้ในชีวิตประจำการวันในการดูแลสุขภาพตัวเอง การเยียวยาผู้อื่น กระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้สุขภาพ
การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอาสาสมัครต่างชาติ การพูดคุยแลกเปลี่ยน การเขียนบทความต่างๆ การฟังอย่างลึกซึ้ง การจับประเด็น การร่วมประเพณีต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม
2. เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ
ในกลุ่มประสบการณ์แต่ละกลุ่มประสบการณ์เป็นความรู้ที่หลากหลายลึกซึ้งกว้างขวาง ซึ่งผู้เรียนสามารถไปเรียนรู้ได้ตามความสนใจของแต่ละทางศูนย์การเรียนจะทำหน้าที่ประสานให้เกิดการเรียนรู้กับผู้รู้ อาทิเช่น การเรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฎกและการฝึกตัวเองตามแนววิถีพุทธ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้กับผู้รู้ในค่ายพระไตรปิฎก เรียนรู้การทำงานในอาชีพที่ตนสนใจจากผู้ที่มีอาชีพนั้นๆ หรือ ผู้ที่ทำงานนั้นๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญค่ายสุขภาพวิถีธรรมสุขภาพพึ่งตน, ค่ายสุขภาพธรรมชาติบำบัด เรียนรู้วิถีอาชีพ ภูมินิเวศวัฒนธรรมจากเครือข่าย ชาวนา ชาวประมง เรียนภาษาต่างประเทศในค่ายภาษาจากอาสาสมัครต่างชาติ
3. งานเขียน การเขียนบันทึก เขียนบทความ เขียนสรุป เขียนเรื่องราว
4. การเรียนรู้ผ่านวงสนทนา
4.1 วงจรแลกเปลี่ยน การตั้งวงสนทนาโดยใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา( Dialogue) วงเสวนา ถอดสรุปบทเรียน การแบ่งปันร่วมกันสมัชชาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เวทีเสวนาการจัดการน้ำ สภาชุมชนวิถีไทที่มีในวันที่ 10 ของทุกเดือน
4.2 เข้าร่วมเวทีต่างๆ สมัชชาลุ่มน้ำ สมัชชาอาเชียน งานวันวิชาการ/วันเด็ก/วันพ่อ/วันแม่ สมัชชาการศึกษาเวทีประจำปีดาหลา สมัชชานานาศาสนา
5. เรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้
การเรียนรู้เกือบทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ด้วยการสัมผัสจริงดังนั้นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จึงมีความจำเป็นเช่น เรียนรู้ระบบวิเวศพื้นที่ป่าพรุ พื้นที่แหล่งน้ำบนเขา หรือ พื้นที่ทะเลสาบสงขลา เรียนรู้การทำเกษตรจากสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว ฯลฯ
6. เรียนรู้ผ่านกระบวนการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
การทำวิจัยเป็นกิจกรรมหนึ่งของชุมชนวิถีไท การวิจัยจึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้วิจัย
7. เรียนรู้จากเอกสาร อินเตอร์เน็ต
สำหรับความรู้นอกเหนือจากการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ จากแหล่งเรียนรู้จากผู้รู้ผู้เรียนต้องการหาความรู้เพิ่มเติมผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือ เอกสารต่างๆ หรือ จากอินเตอร์เน็ต
ที่มา: คู่มือแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยองค์กรชุมชนในศูนย์การเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีไท
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3
ฉบับสมบูรณ์:
หลักสูตรศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไท (docx)